Wednesday, November 16, 2016

ความเป็นมาของจังหวะ Jive or Rock n Roll

รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา 6 (HPE30106: Health and Physical Education 6)
หัวข้อ ความเป็นมาของจังหวะ Jive or Rock n Roll
รายชื่อสมาชิก
  1. นายปภากร ลิ่มสกุล                        เลขที่ 10
  2. นายภาวิน พร้องเผ่าพันธุ์                  เลขที่ 13
  3. นายศุภกร ลิมป์ธนบดี                     เลขที่ 15
  4. นายอัครชัย อินทวิชญ                     เลขที่ 19
  5. นายอานนท์ พรหมจรรย์                  เลขที่ 20
  6. นายจิณณวัตร จารุชัยสิทธิกุล            เลขที่ 22

นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) รุ่นที่ 24 ห้อง 10


สไตล์ : จังหวะ ชา ช่า, รุมบ้า, แซมบ้าและร็อคแอนด์โรลคือการเต้นลาติน การเต้นในจังหวะเหล่านี้มีต้นกำเนิดจากประเทศในแถบลาตินอเมริกา การเต้นในจังหวะ ชา ช่า นั้น คือการเต้นหยอกล้อเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว จังหวะแซมบ้า คือการเต้นในเทศกาลต่างๆของประเทศบราซิล จังหวะไจฟว์ (ร็อคแอนด์โรล) คือการเต้นที่เน้นไปที่ความสนุกสนานเป็นหลัก ส่วนจังหวะรุมบ้าคือจังหวะของความรักที่ลึกซึ้งและสวยงาม จังหวะและสไตล์การเต้นของซาลซ่าคือการเต้นที่เต้นกันในงานเทศกาลต่างๆ ความสนุกสนานและอารมณ์ของการเต้นคือสิ่งที่ทำให้ซาลซ่าเป็นที่นิยมและรู้จัก กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน 
จังหวะไจฟว์นี้  มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปหลายอย่าง  เช่น  ลินดี้ ( Lindy ) อเมริกันสวิง (American  Swing )  
หรือ  ร็อค  (  Rock  ) ส่วนใหญ่คนไทยจะรู้จักจังหวะไจฟว์ในนามของร็อค การเต้นรำจังหวะ ไจฟว์นี้ สนุกสนาน เป็นการออกกำลังได้ไม่เลวทีเดียว
จังหวะไจฟว์หรือร็อคนี้จะมีลีลาจังหวะที่เร่งเร้า  ระทึกใจ ตำนานว่าการเต้นรำจังหวะไจฟว์มีที่มาจากในสมัยค้าทาส ชาวนิโกรอัฟริกันในอเมริกาเหนือซึ่งมีหลายเผ่า  ในช่วงนี้ได้เกิดมีดนตรีประเภทใหม่   โดยเอารากฐานดนตรีของชาวนิโกรดั้งเดิมมาดัดแปลง แล้วเรียกดนตรีประเภทใหม่นี้ว่า  นิโกรแจ๊ส  ซึ่งได้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว 
 การเต้นรำในจังหวะนี้ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า  จิตเตอร์บัต ซึ่งหมายถึงแมลงเล็กๆที่มีอาการแตกตื่น  ชุลมุนวุ่นวาย  
เนื่องมาจากจังหวะของเพลงที่ระทึกใจ  กระตุ้นให้เกิดความสนุกสนานครื้นเครง       
การเต้นจึงเต็มไปด้วยการสวิง  การเหวี่ยงโยน  และการปลดปล่อยอารมณ์ มีลักษณะเหมือนอาการตื่นตระหนกของพวกแมลงเล็กๆ  จึงเป็นที่มาของชื่อดังกล่าว
 ต่อมามีการปรับปรุงการเต้นที่ไม่เรียบร้อย ให้ดูเหมาะสม  นุ่มนวลและสวยงาม  
ลดความรุนแรงในการเต้นให้ลดน้อยลง  จนกระทั่งได้รับการรับรองให้เป็นส่วนหนึ่งของลีลาศมาตราฐาน  
ในประเภทลาตินอเมริกัน  และเรียกชื่อที่ได้ปรับปรุงใหม่นี้ว่า  ไจฟว์  
หรือที่เรานิยมเรียกกันว่า  ร็อค  นั่นเอง  การเต้นไจฟว์  หรือ  ร็อค  มีอยู่ด้วยกันหลายแบบคือ
                1.  Single  Rhythm     หรือ    Boogie –Woogie   หรือ     ร็อค    4  
                2.  Double  Rhythm   หรือ    Jitterbug                หรือ     ร็อค    
                3.  Triple  Rhythm      หรือ    Jive                       หรือ     ร็อค   8    
ในปัจจุบันนิยมเต้นไจฟว์เป็นแบบ  Triple  Rhythm หรือ  ร็อค   8  และในแบบนี้ยังได้รับการรับรองให้เป็นลีลาศมาตรฐานและจัดให้มีการแข่งขันอยู่เสมอ
สมัยก่อนเรามักจะหัดเต้นร็อคในแบบแรก คือ ร็อค 4 ว่ากันว่า หนุ่มๆสมัยนั้นฝึกเต้นร็อค โดยการใช้เชือกหรือผ้าขาวม้าผูกติดกับเสาเพื่อฝึกเต้น ดึง เหวี่ยง สมมุติให้ เสา แทน สาวจังหวะร็อคเป็นที่นิยมเต้นในกลุ่มหนุ่มสาว สมัยก่อน
น่าจะเป็นสมัย "อันธพาลครองเมือง 2499 " ยุคแดง ไบเล่ย์ ปุ๊ระเบิดขวด โน่นกระมังทีนี้ เมื่อทางรัฐบาล กระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนให้มีการฝึกลีลาศเพื่อสุขภาพขึ้นมาก็เลยเริ่มหันมานิยมฝึกลีลาศกันแพร่หลายขึ้นมาอีก จังหวะร็อค
สมัย "โก๋หลังวัง" ก็รับรู้กันในชื่อใหม่ว่า จังหวะไจฟว์
และก็นิยมฝึกในแบบ  8 จังหวะ หรือ     ร็อค  

ไจว์ฟ เป็นจังหวะเต้นรำที่มีจังหวะจะโคน และการสวิงค์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก Rock 'n' Roll , Bogie และ African / American Swing
ต้นกำเนิดของ ไจว์ฟมาจาก New York ,Halem ใน ค.ศ. 1940 ไจว์ฟได้ถูกพัฒนาไปสู่จังหวะ จิตเตอร์บัคจ์ ( Jitterbug)
และจากนั้น Ms.Jos Bradly และ Mr.Alex Moore ชาวอังกฤษ ได้พัฒนาจังหวะดังกล่าว เข้าสู่การแข่งขันในระดับสากล
สไตล์สากลของจังหวะนี้  ควรแสดงให้เห็นถึงการใช้เท้า  เตะ  และดีดสบัด ขณะที่แบบเก่าดั้งเดิมใช้ส่วนของร่างกาย (Torso)   และส่วนของสะโพกมากกว่า
ปัจจุบันในการแข่งขัน  เราจะเห็นการผสมผสานของการเต้นทั้งสองสไตล์การเคลื่อนไหวไม่คืบไปข้างหน้า มุ่งหน้าไปและมา จากจุดศูนย์กลางของการเคลื่อนไหว ความเร็วต่อนาที 44 บาร์ต่อนาที ตามกฎ IDSF  การเน้นจังหวะบนบีทที่ 2 และ 4
ชุดที่ 1: Basic in place, Change of Places Left to Right
ชุดที่ 2: Basic in place, Link Whip, Flick
ชุดที่ 3: Basic in place, Change of Hands Behind Back
ชุดที่ 4: Basic in place, Link,  Promenade Walks (Quick), Change of
Places Left to Right and back
ชุดที่ 5: Basic in place, Link,  Mooch
ชุดที่ 6: Basic in place, Stop and Go, Change of Hands Behind Back,
Change of Places Left to Right and back
ชุดที่7  : Basic in place, , Link Weave, Flick , 
ชุดที่8  :Windmill  
ดนตรีและการนับจังหวะ
ดนตรีของจังหวะไจฟว์เป็นแบบ 4/4 คือ มี 4 จังหวะใน 1 ห้องเพลง ดนตรีจะมีเสียงเน้นหนักในจังหวะที่ 2 และ 4 ซึ่งเราจะได้ยินเสียง แต๊ก ตุ่ม แต๊ก ตุ่ม ดังอยู่ตลอดเพลง
การเต้นไจฟว์ในแบบ TRIPLE RHYTHM มี 8 ก้าว การนับจังหวะจะเป็นแบบ 1,2,3-4-5,6-7-8 หรือ 1,2,3 และ 4,3 และ 4 หรือ เร็ว, เร็ว, เร็วและเร็ว, เร็วและเร็ว ก็ได้ โดยที่ก้าวที่ 1,2 และ 4 มีค่าเท่ากับก้าวละ 1 จังหวะ สำหรับ
ก้าวที่ 3 มีค่าเท่ากับ 3/4 จังหวะส่วนก้าวที่เรียก “ และ ” มีค่าเท่ากับ 1/4 จังหวะ
ความเร็วช้าของจังหวะดนตรี
ดนตรีของจังหวะไจฟว์บรรเลงด้วยความเร็วมาตรฐาน 40 ห้องเพลงต่อนาที (30 – 50 ห้องเพลงต่อนาที)
วีดีโอประกอบ


ที่มา
http://203.158.253.5/wbi/Sports/%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A8/unit1401.htm