รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา 6 (HPE30106: Health and Physical Education 6)
หัวข้อ ความเป็นมาของจังหวะ Jive or Rock n Roll
รายชื่อสมาชิก
- นายปภากร ลิ่มสกุล เลขที่ 10
- นายภาวิน พร้องเผ่าพันธุ์ เลขที่ 13
- นายศุภกร ลิมป์ธนบดี เลขที่ 15
- นายอัครชัย อินทวิชญ เลขที่ 19
- นายอานนท์ พรหมจรรย์ เลขที่ 20
- นายจิณณวัตร จารุชัยสิทธิกุล เลขที่ 22
นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
(องค์การมหาชน) รุ่นที่ 24 ห้อง 10
สไตล์ : จังหวะ ชา ช่า, รุมบ้า,
แซมบ้าและร็อคแอนด์โรลคือการเต้นลาติน การเต้นในจังหวะเหล่านี้มีต้นกำเนิดจากประเทศในแถบลาตินอเมริกา
การเต้นในจังหวะ ชา ช่า นั้น คือการเต้นหยอกล้อเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว จังหวะแซมบ้า
คือการเต้นในเทศกาลต่างๆของประเทศบราซิล จังหวะไจฟว์ (ร็อคแอนด์โรล) คือการเต้นที่เน้นไปที่ความสนุกสนานเป็นหลัก ส่วนจังหวะรุมบ้าคือจังหวะของความรักที่ลึกซึ้งและสวยงาม จังหวะและสไตล์การเต้นของซาลซ่าคือการเต้นที่เต้นกันในงานเทศกาลต่างๆ
ความสนุกสนานและอารมณ์ของการเต้นคือสิ่งที่ทำให้ซาลซ่าเป็นที่นิยมและรู้จัก กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
จังหวะไจฟว์นี้
มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปหลายอย่าง เช่น ลินดี้ ( Lindy ) อเมริกันสวิง (American
Swing )
หรือ ร็อค ( Rock ) ส่วนใหญ่คนไทยจะรู้จักจังหวะไจฟว์ในนามของร็อค การเต้นรำจังหวะ ไจฟว์นี้
สนุกสนาน เป็นการออกกำลังได้ไม่เลวทีเดียว
จังหวะไจฟว์หรือร็อคนี้จะมีลีลาจังหวะที่เร่งเร้า ระทึกใจ
ตำนานว่าการเต้นรำจังหวะไจฟว์มีที่มาจากในสมัยค้าทาส ชาวนิโกรอัฟริกันในอเมริกาเหนือซึ่งมีหลายเผ่า ในช่วงนี้ได้เกิดมีดนตรีประเภทใหม่
โดยเอารากฐานดนตรีของชาวนิโกรดั้งเดิมมาดัดแปลง แล้วเรียกดนตรีประเภทใหม่นี้ว่า
นิโกรแจ๊ส ซึ่งได้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว
การเต้นรำในจังหวะนี้ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า
จิตเตอร์บัต ซึ่งหมายถึงแมลงเล็กๆที่มีอาการแตกตื่น ชุลมุนวุ่นวาย
เนื่องมาจากจังหวะของเพลงที่ระทึกใจ
กระตุ้นให้เกิดความสนุกสนานครื้นเครง
การเต้นจึงเต็มไปด้วยการสวิง การเหวี่ยงโยน
และการปลดปล่อยอารมณ์ มีลักษณะเหมือนอาการตื่นตระหนกของพวกแมลงเล็กๆ
จึงเป็นที่มาของชื่อดังกล่าว
ต่อมามีการปรับปรุงการเต้นที่ไม่เรียบร้อย
ให้ดูเหมาะสม นุ่มนวลและสวยงาม
ลดความรุนแรงในการเต้นให้ลดน้อยลง
จนกระทั่งได้รับการรับรองให้เป็นส่วนหนึ่งของลีลาศมาตราฐาน
ในประเภทลาตินอเมริกัน
และเรียกชื่อที่ได้ปรับปรุงใหม่นี้ว่า ไจฟว์
หรือที่เรานิยมเรียกกันว่า
ร็อค นั่นเอง การเต้นไจฟว์ หรือ ร็อค มีอยู่ด้วยกันหลายแบบคือ
1. Single Rhythm หรือ
Boogie –Woogie หรือ ร็อค
4
2. Double Rhythm หรือ
Jitterbug
หรือ ร็อค 6
3. Triple Rhythm หรือ Jive
หรือ ร็อค
8
ในปัจจุบันนิยมเต้นไจฟว์เป็นแบบ Triple Rhythm หรือ ร็อค
8 และในแบบนี้ยังได้รับการรับรองให้เป็นลีลาศมาตรฐานและจัดให้มีการแข่งขันอยู่เสมอ
สมัยก่อนเรามักจะหัดเต้นร็อคในแบบแรก
คือ ร็อค 4 ว่ากันว่า
หนุ่มๆสมัยนั้นฝึกเต้นร็อค โดยการใช้เชือกหรือผ้าขาวม้าผูกติดกับเสาเพื่อฝึกเต้น
ดึง เหวี่ยง สมมุติให้ เสา แทน สาวจังหวะร็อคเป็นที่นิยมเต้นในกลุ่มหนุ่มสาว
สมัยก่อน
น่าจะเป็นสมัย "อันธพาลครองเมือง 2499 " ยุคแดง ไบเล่ย์ ปุ๊ระเบิดขวด โน่นกระมังทีนี้ เมื่อทางรัฐบาล กระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนให้มีการฝึกลีลาศเพื่อสุขภาพขึ้นมาก็เลยเริ่มหันมานิยมฝึกลีลาศกันแพร่หลายขึ้นมาอีก
จังหวะร็อค
สมัย
"โก๋หลังวัง" ก็รับรู้กันในชื่อใหม่ว่า จังหวะไจฟว์
และก็นิยมฝึกในแบบ
8 จังหวะ หรือ
ร็อค 8
ไจว์ฟ
เป็นจังหวะเต้นรำที่มีจังหวะจะโคน และการสวิงค์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก Rock 'n' Roll , Bogie และ African /
American Swing
ต้นกำเนิดของ
ไจว์ฟมาจาก New York ,Halem ใน
ค.ศ. 1940 ไจว์ฟได้ถูกพัฒนาไปสู่จังหวะ จิตเตอร์บัคจ์ ( Jitterbug)
และจากนั้น
Ms.Jos Bradly และ Mr.Alex
Moore ชาวอังกฤษ ได้พัฒนาจังหวะดังกล่าว เข้าสู่การแข่งขันในระดับสากล
สไตล์สากลของจังหวะนี้ ควรแสดงให้เห็นถึงการใช้เท้า เตะ
และดีดสบัด ขณะที่แบบเก่าดั้งเดิมใช้ส่วนของร่างกาย (Torso) และส่วนของสะโพกมากกว่า
ปัจจุบันในการแข่งขัน เราจะเห็นการผสมผสานของการเต้นทั้งสองสไตล์การเคลื่อนไหวไม่คืบไปข้างหน้า
มุ่งหน้าไปและมา จากจุดศูนย์กลางของการเคลื่อนไหว ความเร็วต่อนาที 44 บาร์ต่อนาที ตามกฎ IDSF การเน้นจังหวะบนบีทที่
2 และ 4
ชุดที่ 1: Basic in place, Change of Places Left to Right
ชุดที่ 2: Basic in place, Link Whip, Flick
ชุดที่ 3: Basic in place, Change of Hands Behind Back
ชุดที่ 4: Basic in place, Link, Promenade Walks (Quick),
Change of
Places Left to Right and back
ชุดที่ 5: Basic in place, Link, Mooch
ชุดที่ 6: Basic in place, Stop and Go, Change of Hands Behind Back,
Change of Places Left to Right and
back
ชุดที่7 : Basic in place, , Link Weave, Flick ,
ชุดที่8 :Windmill
ดนตรีและการนับจังหวะ
ดนตรีของจังหวะไจฟว์เป็นแบบ 4/4 คือ มี 4 จังหวะใน 1
ห้องเพลง ดนตรีจะมีเสียงเน้นหนักในจังหวะที่ 2 และ 4 ซึ่งเราจะได้ยินเสียง แต๊ก ตุ่ม แต๊ก ตุ่ม
ดังอยู่ตลอดเพลง
การเต้นไจฟว์ในแบบ TRIPLE RHYTHM มี 8 ก้าว
การนับจังหวะจะเป็นแบบ 1,2,3-4-5,6-7-8 หรือ 1,2,3 และ 4,3 และ 4 หรือ เร็ว,
เร็ว, เร็วและเร็ว, เร็วและเร็ว
ก็ได้ โดยที่ก้าวที่ 1,2 และ 4 มีค่าเท่ากับก้าวละ
1 จังหวะ สำหรับ
ก้าวที่ 3 มีค่าเท่ากับ 3/4 จังหวะส่วนก้าวที่เรียก
“ และ ” มีค่าเท่ากับ 1/4 จังหวะ
ความเร็วช้าของจังหวะดนตรี
ดนตรีของจังหวะไจฟว์บรรเลงด้วยความเร็วมาตรฐาน
40 ห้องเพลงต่อนาที (30
– 50 ห้องเพลงต่อนาที)
วีดีโอประกอบ
ที่มา
http://203.158.253.5/wbi/Sports/%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A8/unit1401.htm